วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การติดตั้ง Ubuntu server 8.04.1

การติดตี้ง windows 2003 sever

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
Windows Server 2003, Standard Edition
ระบบปฏิบัติการ
Windows Server 2003 เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการให้บริการ
(Services)
ไฟล์แชร์
ต่างๆ กับผู้ใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เช่น บริการ(File Server) บริการเว็บไซต์ (Web Server) บริการควบคุมเครื่องพิมพ์ (Print Server) บริการฐานข้อมูลไดเร็กทรอรี่
(Directory Server)
นอกจากนี้ยังมีบริการอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ และสามารถตรวจสอบได้จาก
http://www.microsoft.com
ธุรกิจและรับแอปพลิเคชั่น
ซึ่งระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 ต้องมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับงานเชิง(Application) ใหญ่ๆ ได้ โดยมีแนวคิดหลักของระบบปฏิบัติการดังนี้
ผู้ใช้งานได้
Extensibility ตัวระบบมีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการเพิ่มขยาย เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตของ
Portability สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในแพลตฟอร์มของโปรเซสเซอร์อื่นได้
ประโยชน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหลายโปรเซสเซอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Multiprocessing and Scalability แอปพลิเคชั่นที่ทำงานภายใต้ Windows Server 2003 ต้องสามารถใช้
กระบวนการภายในและจากแอปพลิเคชั่นภายนอกได้ ระบบจะต้องอยู่ในสถานะที่สามารถควบคุมได้
ตลอดเวลา หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระบบต้องสามารถรายงานได้อย่างถูกต้อง และความผิดพลาดของ
แอปพลิเคชั่นจะต้องไม่มีผลต่อการทำงานของระบบปฏิบัติการโดยรวม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังต้องมี
อำนาจเต็มที่ในการควบคุมแอปพลิเคชั่น อันได้แก่ การสั่งหยุดแอปพลิเคชั่นที่ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบ
และสามารถเรียกคืนทรัพยากรระบบทั้งหมด เช่น หน่วยความจำให้กลับมาคืนสู่ระบบได้
Reliability and Robustness ระบบปฏิบัติการมีเสถียรภาพสูง สามารถป้องกันข้อผิดพลาดอันเกิดจาก
ติดตามการใช้งานของผู้ใช้ได้ และสามารถกำหนดสิทธิต่างๆ ในการใช้งานทรัพยากรของระบบได้
Security มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ระบบต้องสามารถตรวจสอบผู้ใช้ก่อนเข้าใช้งานระบบได้ รวมทั้ง
หากผู้ใช้งานเคยใช้ระบบปฏิบัติการก่อนหน้านี้แล้ว คือ
ระบบปฏิบัติการ
Server 2000
หน้านี้ ซึ่ง
ปลอดภัยสูงเช่นกัน
ระบบปฏิบัติการ
รองรับและสนับสนุนเครื่องลูกข่ายที่เป็น
ของ
Performance ตัวระบบต้องทำงานได้ในความเร็วสูงสุดเท่าที่ทำได้ในแพลตฟอร์มทางฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่Windows Server 2000 ผู้ใช้จะเกิดความเคยชินในการใช้งานWindows Server 2003 นี้ เพราะ Windows Server 2003 เป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับการพัฒนาต่อจาก Windowsนั่นเอง แต่ Windows Server 2003 ได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบปฏิบัติการตัวก่อนWindows Server 2003 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัยในด้านการรักษาความWindows Server 2003 มีชุดของ Server หลายแบบด้วยกัน ขณะที่ชุดของ Server ทั้งหมดยังWindows 2000 Professional และ Windows XP Professional ด้วยเช่นกัน ซึ่งชุดWindows Server 2003 มีดังต่อไปนี้
Windows Server 2003, Standard Edition
Windows Server 2003, Enterprise Edition
Windows Server 2003, Datacenter Edition
Windows Server 2003, Web Edition
การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
Windows Server 2003, Standard Edition 3
การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
ติดตั้ง ฮาร์ดแวร์ที่ใช้งาน ระบบไฟล์ของพาร์ติชัน และอื่นๆ อีกมากมาย แต่อย่างน้อยสุดมี
Windows Server 2003 จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการ6 ข้อที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้
1.
รูปแบบการติดตั้งแบบติดตั้งใหม่ หรืออัปเกรดจากระบบปฏิบัติการเดิม
2.
คุณสมบัติของฮาร์ดแวร์ที่ระบบปฏิบัติการสามารถทำงานได้
3.
ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งอยู่ในรายชื่อของ Hardware Compatibility List (HCL) หรือไม่
4.
5.
6.
พาร์ติชั่นของระบบไฟล์ที่จะติดตั้งไม่ว่าจะเป็น FAT หรือ NTFSลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการ (Licensing)รูปแบบการทำงานของเครือข่ายเป็น Workgroup หรือ Domain
นอกจากที่กล่าวแล้วข้างต้น ไฟล์เอกสารที่ควรอ่านก่อนการใช้งานจริง
Windows Server 2003 คือ ไฟล์
Read1st.txt,
เพิ่มเติมที่ควรศึกษาก่อนการติดตั้ง
ไฟล์ RelNotes.htm และไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในโฟลเดอร์ DOCS ไฟล์ต่างๆ ในโฟลเดอร์นี้จะมีคำแนะนำข้อมูล(ไฟล์ต่างๆ อยู่ใน CD-ROM ของ Windows Server 2003
ตารางคุณสมบัติของฮาร์ดแวร์ที่ระบบปฏิบัติการรองรับ
Product
Windows Server 2003, Standard Edition
Processor
Pentium 133MH, 550+ MHz (แนะนำ) รองรับ CPU 4 ตัว
RAM
128 MB, 256MB (แนะนำ)
Drive space
1GB, 2GB (แนะนำ)
Drives
Hard disk IDB, SCSI
Video
VGA หรือ Super VGAFile systems

ขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ
Windows Server 2003 มีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ
Windows Server 2003 มีดังต่อไปนี้
1.
2.
3. ตอนรับการติดตั้ง Windows Server 2003 ให้กด ENTER เพื่อเข้าสู่การติดตั้งใหม่
4.
กดปุ่ม F8 ยอมรับเงื่อนไขของการติดตั้ง5.
6. Format
7. ระบบกำลังทำการ Format พาร์ติชั่นที่สร้างขึ้น
พาร์ติชั่นที่สร้างขึ้น เลือกดังภาพและกด ENTER
สร้างพาร์ติชั่นและกำหนดพื้นที่ของระบบปฏิบัติการ จากภาพได้สร้างไดร์ฟ C จำนวน 10GB
ปรับ BIOS ให้เครื่องคอมพิวเตอร์บูตจากไดร์ฟ CD-ROM และใส่แผ่น CD-ROM Windows Server 2003ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 ทำการโหลด kernel, Driver และไฟล์ต่างๆ ที่จำเป็น
8.
การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
Windows Server 2003, Standard Edition 7
8.
ระบบปฏิบัติการทำการคัดลอกไฟล์ต่างๆ ที่ใช้ในการติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์9.
10.
11.
12.
ระบบปฏิบัติการเตรียมการติดตั้งไฟล์ต่างๆ และแจ้งเวลาที่เหลือของการติดตั้ง13.
14.
15.
16.
17.
18.
19.
20.
เลือก Typical settings ดังภาพ (ค่าเครือข่ายจะติดตั้งหลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว
การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
Windows Server 2003, Standard Edition 13
20.
เลือก Typical settings ดังภาพ (ค่าเครือข่ายจะติดตั้งหลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว21.
22.
23.
24.
การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
Windows Server 2003, Standard Edition 15
24.
ระบบปฏิบัติการกำลังโหลดไฟล์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำงาน25.
26.
27.
28.
29.

ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 พร้อมใช้งานและให้บริการต่าง เสร็จสิ้นขึ้นตอนการติดตั้ง
ระบบปฏิบัติการโหลดโปรไฟล์ของ Administrator
กรอกรหัสผ่านที่ตั้งไว้ในตอนต้นให้ถูกต้องและกดปุ่ม OK
กดปุ่ม Ctrl-Alt-Delete พร้อมกันดังภาพ
ระบบปฏิบัติการเริ่มโหลดบริการต่างๆ ที่จำเป็น
ระบบปฏิบัติการกำลังโหลดไฟล์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำงาน
เข้าสู่ขั้นตอนการคัดลอกไฟล์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของระบบปฏิบัติการ และเมื่อติดตั้งเสร็จเครื่องจะรีสตาร์ทใหม่
การเลือกค่าติดตั้งต่างๆ เรียบร้อยแล้ว
เลือกประเภทเครือข่ายเป็น WORKGROUP ดังภาพ
เตรียมการติดตั้งค่าเครือข่าย
เลือกวันที่และเวลาให้เป็นปัจจุบัน และเลือก Time Zone เป็นประเทศไทย
กรอกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ใน Computer name และรหัสของ Administrator
เลือก Licensing Modes ดังภาพ
กรอก Product Key ตรวจสอบได้จากกล่องที่บรรจุ Windows Server 2003
กรอกชื่อของบริษัท ใส่ชื่ออะไรก็ได้เพราะไม่มีผลต่อระบบการทำงาน
ปรับตั้งค่าภาษาและโซนของเครื่อง ให้เป็นประเทศไทย
เข้าสู้การติดตั้งในโหมด GUI
กด ENTER เพื่อรีสตาร์ทเครื่อง
ระบบปฏิบัติการสร้างค่าเริ่มต้น
ระบบปฏิบัติการทำการคัดลอกไฟล์ต่างๆ ที่ใช้ในการติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์
FAT หรือ NTFS

ความหมายเครื่อข่าย

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่าย
ร่วมกันได้
            การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งาน
อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบ
ให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง
เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์
เพียงสองสามเครื่องเพื่อใช้งานในบ้าน
หรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ
เครือข่ายสามารถ
เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 

CLass

เรามักได้ยิน ระบบการสื่อสารแบบ TCP/IP เป็นประจำ ส่วนการทำงานดังกล่าวครอบคลุมอุปกรณ์การสื่อสารเกือบทุกประเภทใน ปัจจุบัน เราลองมาดูว่า มันทำงานยังไงกันดีกว่า
IP address
คือระบบการอ้างอิง การมีตัวตนอยู่ของคอมพิวเตอร์ โดยปกติเราแบ่ง IP address เป็น 2 แบบ 1. Public IP address (อาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า WAN IP address) คือ IP address ที่ใช้งานจริงมีการจดทะเบียนและเสีย เงินเพื่อใช้งานจริงๆ มีการจดบันทึกในระบบว่า ใครใช้งาน IP อะไรในวง 2. Private IP address (อาจเรียกว่า LAN IP address) คือ IP address ที่ใช้กันในเฉพาะระบบวงปิด เช่นใน Office หรือในบ้านที่มี คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง IP ระบบนี้หากต้องการใช้กับ เครื่องนอกวงต้องใช้ อุปกรณ์ที่เรียกว่า NAT(Network Address Translator) จะทำการแปลข้อมูลจากวง LAN ไปออกภายนอก 1 iP Address & Class A - E
การกำหนด
IP address
มี
2 วิธีหลักๆ 1.
 
Static IP address คือการกำหนด เลข IP address เอาดื้อๆ เครื่องอื่นๆ ในวงต้องมี Network Address อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จึง จะมองเห็นกันได้ 2. Dynamic IP address คือการกำหนด เลข IP address โดยอุปกรณ์ หรือ Server ที่เรียกว่า DHCP server (Dynamic Host Configuration Protocol Server) ซึ่งจะง่ายกว่าแบบแรกเนื่องจากไม่ต้องทราบอะไรเลยเสียบปุ๊บ ตั้ง Auto ใช้งานได้เลย 2 iP Address & Class A - E นายสฤษฎ์ ไชยวังษา วิทยาการคอมพิวเตอร์ ปี 3 รหัสนิสิต 49313354 3
IP Address
มีอยู่ 5 ระดับ 1. Classes A
2. Classes B
3. Classes C
4. Classes D
5. Classes E
โดยที่เรารู้ ทั่วไป
3 ระดับ คือ Classes A , Classes B , Classes C ส่วนระดับ 4 และ 5 ไม่กล่าวในที่นี้ ลักษณะของ IP number จะประกอบด้วยตัวเลขทั้งหมด 4 ชุด แต่ละชุด จะมีค่าระหว่าง 0- 255 เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 8 หลัก รวมตัวเลขทั้ง 4 ชุด คือ 32 หลัก

31

23

15

7

0

iP Address & Class A - E

ประเภทระบบเครือข่าย

1. LAN (Local Area Network)
ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ

2. MAN (Metropolitan Area Network)
ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก

3. WAN (Wide Area Network)
ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)
                                
ประเภทของระบบเครือข่าย
Peer To Peer
เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal Netware



                                            
Client / Server
เป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology
ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
                                              ข้อดี ม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
  สามารถขยายระบบได้ง่าย

  เสียค่าใช้จ่ายน้อย

ข้อเสีย อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
                                           
การเชื่อมต่อแบบวงแหวน ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้
ข้อดี
ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
   ข้อเสีย
หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก 

________________________________________________

_
แบบ Star(แบบดาว) การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
      แบบ Starจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก
                                             
ข้อดี
  ติดตั้งและดูแลง่าย
แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ
การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด
     ข้อเสีย
เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน
การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบ
เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบ  วงแหวน (Ring Network)

แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
                           
เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย

อุปกรณ์ network

ISP

รู้จัก ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คืออะไร


ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Service Provider คือ หน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป


ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด


ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น


ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย


บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน Technician Support นี่ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราควรจะต้องพิจารณา เพราะหากการใช้บริการของเรามีปัญหา เราจะได้มั่นใจว่าทาง ISP จะมีการดูแลแก้ไขให้ได้อย่างทันท่วงที และเราจะสามารถสอบถามการบริการใหม่ๆได้อยู่เสมอ รวมถึงบริการเสริมต่างๆก็เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องพิจารณาด้วยเช่นเดียวกัน


โมเด็ม ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องใช้ในการท่องอินเทอร์เน็ต เราควรตรวจสอบโมเด็มที่เราใช้งานอยู่ว่าเป็นโมเด็มแบบใด 33.6Kbps หรือ 56 Kbps เนื่องจากโมเด็มมีมาตรฐานหลายแบบ ดังนั้น ควรตรวจสอบดูว่า ISPนั้นๆ สามารถรองรับโมเด็มของเราได้หรือไม่ ทั้งในด้านความเร็วและมาตรฐานต่างๆ เพราะ ISP แต่ละรายการจะมีหมายเลขโทรศัพท์หลายหมายเลขด้วยกัน ซึ่งแต่ละหมายเลขจะใช้สำหรับโมเด็มที่มีความเร็วและมาตรฐานที่แตกต่างกัน


เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล ที่ทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอนุญาตให้สมาชิกจัดเก็บข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เช่น เนื้อที่ที่ให้จัดเก็บอีเมล์หรือจัดเก็บไฟล์ข้อมูลไปที่ดาวน์โหลดจากแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยทั่วไป ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะให้พื้นที่เก็บข้อมูลประมาณ 2 MB


ค่าบริการรายเดือน ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ค่าบริการรายเดือนจะถูกกำหนดตามชั่วโมงของการใช้งาน จำนวนชั่วโมงในการใช้งานยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะเสียค่า บริการเพิ่มมมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาที่ค่าธรรมเนียมแรกเข้าด้วย เพราะบาง ISP จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า แต่บาง ISP จะไม่มีการเรียกเก็บ


หลังจากที่เราเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการติดต่อขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับ ISP ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ให้บริการ 18 แห่งด้วยกัน คือ
1. บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด
2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด
3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด
4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด
5. บริษัท เอเน็ต จำกัด
6. บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด
7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด
8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด
9. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด
10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด
11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด
12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด
14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด
15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด
16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด
17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด
18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)